13 ต.ค. 2554

วิธีการสร้างปิรามิดที่ผิดพลาด

ถ้าสิ่งที่คุณเชื่อมันไม่จริง   แต่สิ่งที่คุณว่ามันไม่ใช่กลายเป็นเรื่องจริงขึ้นมา   คุณรับได้ไหม?”

         เราๆ ท่านๆ เคยอ่านในบทเรียนมาแล้วถึงการสร้างปิรามิดว่า   ใช้แรงงานทาสใช้เครื่องมือโลหะประเภททองแดงในการตัดหิน   จากนั้นก็สร้างรางเพื่อเข็นหินขึ้นไปวางในตำแหน่งที่ต้องการ   มันก็ไม่มีอะไรผิดผลาดตรงไหนถ้าดูจากรูปคดี.......

         เอ้ย!!!   ไม่ใช่ๆ โทษทีนึกว่าตัวเองเป็นนักสืบ   แต่ก็ไม่ต่างกันหรอกถ้าคิดแบบคนธรรมดาผมว่าเราไม่มีทางรู้หรอกว่าคนโบราณเข้าสร้างปิรามิดกันยังไง   มีแต่ต้องคิดแบบนักสืบในนิยายหรือการ์ตูนที่มักจะใช้เหตุผลหลายๆ ข้อมารวมกันแล้วสรุปคดีตามข้อมูลที่มีอยู่   แต่ ! มันไม่จบแค่นั้นหรอกต้องมองหาหลักฐานที่มายืนยันข้อมูลว่าข้อมูลถูกต้อง   ตรวจข้อสรุปว่ามันเป็นไปได้แค่ไหนและเป็นไปได้อย่างไร   ไหนจะยังนำสรุปคดีไปหาผู้กระทำผิด   หลายครั้งที่หาไปหามาผู้ต้องสงสัยดันไม่ใช่คนร้าย   ก็ต้องมานั่งกันคิดอีกว่าเขาใช้วิธีไหนถึงรอดตัวไปได้   ดูมันซับซ้อนจัง !!!  เข้าเรื่องดีกว่า   วันนี้ขอสืบเรื่องวิธีการสร้างปิรามิดก็แล้วกัน

ก้อนหินแต่ล่ะก้อนเมื่อเทียบกับคนของปิามิกแห่งกีซา

         อย่างที่กล่าวไปแล้วถึงวิธีการสร้างปิรามิดที่รู้กันอยู่เพื่อเป็นการยืนยันว่ามันเป็นไปตามนั้นจริงๆ   ผมก็เลยสมมุติให้มันเป็นจริงไปเลย (??)   ข้อมูลที่เรามีอยู่ก็คือ   มหาปิรามิดแห่งกีซาสร้างด้วยแรงงานทาสใช้เวลาสร้าง 20 ปี   ใช้หิน  2.3  ล้านก้อน   น้ำหนักรวม  6.5  ล้านตัน   หินถูกขนมาเป็นระยะทาง  5.3  กิโลเมตร   ฐาน  4  ด้านยาวด้านละ  230  เมตร   สูง  146  เมตร   ภายในเต็บไปด้วยห้องที่คับแคบและมีชั้นใต้ดินที่ซับซ้อน   ข้อมูลทั้งหมดมาจากปากของนักโบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์เอง   มันเหนือการความสามารถของเราที่จะตรวจสอบความถูกต้องก็เลยเอามันมาทั้งหมดนั้นแหละ 

         จากข้อมูลที่มีอยู่พอจะสรุปได้ว่าหินแต่ล่ะก้อนมีน้ำหนักโดยเฉลี่ย  2.82  ตัน  จากสูตร  น้ำหนักรวมหารจำนวนหินทั้งหมด   บางก้อนจะหนักน้อยกว่านี้แต่ด้วยกฎของค่าเฉลี่ยทำให้ต้องมีบางก้อนหนักมากกว่า  2.82  ตัน   เวลาการสร้างต้องขนหินให้ได้วันล่ะ  315  ก้อน   จากสูตร   จำนวนหินหารด้วยจำนวนวันใน  20  ปี   ถึงการนับวันเดือนปีไม่ตรงกันแต่ไม่มีทางที่จำนวนวันในหนึ่งปีหรือจำนวนวันต่อ  1  รอบต่อการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์น้อยหรือมากไปกว่า  365  และ  366  วันไปหรอกได้   หรือคุณจะเถียงว่า 1 ปีของเขามีวันมากกว่า  1  ปีของเรา !!

         พอจะเห็นอะไรที่ขัดแย้งกันหรือยังครับ ?   หินหนึ่งก้อนหนัก  2.82  ตันและต้องขนให้ได้วันล่ะ  315  ก้อน  นี่ยังไม่รวมการตัดหิน   การขัดหิน   และการจัดเรียงหินที่ต้องทำไปพร้อมๆ กันอีกนะ   หรือคุณจะเถียงว่าเขาขนหินมาไว้ก่อนแล้วตัด   ขัด   และจัดเรียงที่หลัง   มันเหลือเชื่อเกินไปไหม   อย่าลืมว่ายุคนั้นไม่มีเครนไม่มีรถลากไม่มีเครื่องตัดหินด้วยเพชร   และในตำราหนังสือต่างๆ ก็บอกไว้ด้วยว่าใช้เครื่องโลหะประเภททองแดง   เครื่องมือทองแดงประเภทไหนกันที่ตัดหินที่หนักกว่า  2  ตันได้ในเวลาไม่ถึงวัน ?   ใครก็ได้มาช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจที !  
รูปสลักโมอายไม่รู้ว่าขนหินข้ามทะเลมายังไง


         นี่ผมยังไม่ได้กำหนดค่าเร็วของการเคลื่อนย้ายหินหนัก  2.82  ตัน   ในระยะทาง  5.3  กิโลเมตร   และภายในหนึ่งวันต้องขนให้ได้  315  ก้อน   โดยใช้กำลังช้าง   ม้า   วัว   ควายและแรงคน   ผมต่อให้รวมกันสองแสนชีวิตเลยด้วยมากกว่านาย   Herodotus  ที่เป็นนักประวัติศาสตร์คิดเอาไว้เสียอีก   ไม่เชื่อคุณลองเอาไปคำนวณกันเล่นๆ ดูแล้วจะพบกับความแปลกประหลาดยิ่งกว่านี้เสียอีก !!!

         นี่เป็นเพียงการคำนวณคร่าวๆ ด้วยคณิตศาสตร์ของเด็กประถม   เห็นได้ชัดว่ามีความขัดแย้งในตัวเองและไม่มีนักโบราณคดีหรือนักวิทยาศาสตร์คนไหนออกมาแก้ไข   ซ้ำยังถูกสอนมาแบบผิดๆ โดยพยายามวิจัยเพื่อสนับสนุนความเชื่อที่คนส่วนใหญ่ยึดถือ   ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือปี  2010  ออกมาบอกว่าตัวเลขกรรมกรขนหินน่าจะอยู่ที่สี่พันคนและไม่ใช่แรงงานทาสแต่เป็นชาวนาและกสิกรเพราะช่วงเวลาที่แม่น้ำไนล์ท่วมชาวนาและกสิกรจะว่างงาน   แล้วทาสไปไหน?   ทำงานสบายๆ แค่ยกข้าวยกน้ำในราชวังงั้นหรือ?   ทำไมไม่มาร่วมมือกันสร้าง?   เหตุผลนี่ผมพูดได้คำเดียวว่า   ฟังไม่ขึ้น !!!”  

         ที่ออกมาบอกแนวความคิดสำหรับผมคิดได้เพียงอย่างเดียวคือ   เพื่อสุ่มหาวิธีการที่มนุษย์สร้างอย่างแท้จริง    หรืออีกนัยหนึ่งก็คือพยายามปฏิเสธแนวความคิด   พระเจ้าจากอวกาศ   ที่ฟังดูเหมือนคนบ้าแต่เหตุผลของเขากลับมีน้ำหนักกว่านักวิทยาศาสตร์   นักโบราณคดี   และที่สำคัญเหตุผลของเขาก็เอามาจากความขัดแย้งของนักวิชาการต่างๆ ที่ไม่ยอมออกมาแก้ไขนั้นแหละ

         หรือว่าพอแก้ไขแล้วมันไปกลับกลายเป็นการสนับสนุนไป??

         เมื่อเรื่องนี้แพร่เข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ตแน่นอนว่ามีคนมากหน้าหลายตาพากันสัญนิฐานไปต่างๆ นานา   และมีหลายคนที่อธิบายถึงวิธีการสร้างแต่จะต่อท้ายด้วยคำว่า   มั้ง   ออกแนวประมาณว่า   ฉันมั่นใจว่ามันสร้างแบบนี้แต่ไม่แน่ใจว่ามันถูกต้อง   อ่านดูก็งงๆ ดีเหมือนกัน   เท่าที่ผมอ่านมาส่วนใหญ่มีคนที่อธิบายวิธีการสร้างได้มีเหตุผลแต่ด้วยสาเหตุใดไม่ทราบถึงไม่มีการอ้างอิงวิชาการหรือวิทยาศาสตร์เลย   แต่นักจานผีวิทยาและผู้เชื่อในแนวความคิดพระเจ้าจากอวกาศกลับอ้างอิงวิชาการและวิทยาศาสตร์ตลอดเวลา   ทุกๆ แนวคิดที่พวกเขาคิดขึ้นมามีวิทยาศาสตร์มารองรับเสมอ

         หรือว่านักวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ผู้แสวงหาความจริง   แต่เป็นเพียงผู้ยืนยันความเชื่อตามค่านิยม   

         จะมาลองดูกันหน่อยไหม !!  ว่าแนวคิดของแต่ล่ะฝ่ายเป็นยังไง   ใครมีน้ำหนักมากกว่า !   ขอเริ่มจากข้อสัณนิฐานของนักวิทยาศาสตร์และกลุ่มคนธรรมดาทั่วไปที่มีต่อปิรามิดแล้วค่อยไปดูแนวความคิดพระเจ้าจากอวกาศ

ภาพการสร้างปิรามิด

         ข้อสัณนิฐานในการตัดหินเท่าที่อ่านมา
         เจาะรูลึก  15  เซนติเมตรแล้วนำไม้มาตอกลงไปและกรอกน้ำตาม   เมื่อไม้ดูดซับน้ำเต็มทีไม้จะพองตัวดันหินให้แตกออก 
         อ่านดูมันก็มีความเป็นไปได้แต่ลองเอาวิทยาศาสตร์เอาไปอธิบายซิครับ !  
         ไม้ชนิดไหนที่สามารถพองตัวเองเมื่อดูดซับน้ำจนหินแตกออก ??   ถ้าเจาะรูเป็นแถวๆ ถี่ๆ ไปตลอดทั้งก้อนแล้วมันจะมีพลังงานพอที่จะดันหินให้แยกจากกันได้งั้นหรือ?   ใครเก่งฟิสิกส์มาอธิบายหน่อยเร็ว!!   อย่าลืมนะครับว่าหินก้อนหนึ่งมีน้ำหนักมากกว่าหนึ่งตัน   อย่างปิรามิดแห่งกีซาต้องตัดให้ได้วันหนึ่งถึง  315  ก้อนเพื่อเอาไปเรียงในหนึ่งวัน  

         ปัญหาคือไม้ชนิดไหนที่พองตัวเร็วขนาดนั้นเร็วกว่าการตัวหินด้วยเครื่องด้วยเพชรที่ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นร้อยๆ วัตน์เป็นพลังงาน   ถ้างั้นเราเปลี่ยนไปใช้ไม้ที่ว่านั้นตัดหินดีกว่าไหม ! วันหนึ่งตัดได้ตั้ง   315  ก้อน   ก้อนก็ไม่ใช้เล็กๆ อย่างน้อยก็หนักกว่าหนึ่งตัน   แล้วก็ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าด้วย !!   แล้วไหนจะเรื่องที่ใช้อะไรในการเจาะหินเป็นรูลึก  15  เซนติเมตรอีกล่ะ !!

         ข้อสัญนิฐานในการขนหินเท่าที่ผมอ่านมา
         สร้างรางเข็นหินขึ้นไปวางตำแหน่งที่ต้องการ
         รถเข็น !!  เป็นเครื่องมือง่ายๆ มีสามารถสร้างได้เองมีแค่ล้อ   เพลา   และพื้นเป็นส่วนประกอบสำคัญ   งั้นลองเอาวิทยาศาสตร์กับฟิสิกส์ไปอธิบายซิครับ  

         ล้อทำจากอะไรถึงรับน้ำหนักเกินหนึ่งตันได้ ?   พื้นกว้างยาวเท่าไรและทำจากอะไรถึงบรรทุกของหนัก  2  ตันได้ ?   ขนาดรถกระบะทำจากเหล็กมีโช้คอัพ  4  อันที่ภายในบรรจุก๊าซชนิดหนึ่งเอาไว้และยังมีสปริงขนาดใหญ่ที่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรงไม่หักง่ายเพื่อรับน้ำหนัก   ล้อรถยนต์กระบะแบบสองประตูที่เราใช้ๆ กันอยู่รับได้แค่หนึ่งตันกับอีกนิดหน่อย   ถ้าไม่กลัวเครื่องยนต์พังก็สามารถบรรทุกได้ถึงสองตัน!!   แต่อย่าลืมว่ารถยนต์มี  4  ล้อ   และเครื่องยนต์มีแรงขับกว่าสามพันแรงม้า   ใส่พลังงานฟอลซิล (ก็น้ำมันนั้นแหละ!)   เสมือนกับมีม้าสามพันตัวลากเราไปยังไงยังงั้น   ยังวิ่งขึ้นเนินได้ลำบากเลย !!    สรุปได้อย่างเดียวว่าถ้าเขาใช้รถเข็นหินขึ้นไปมันจะต้องแข็งแรงมีแรงขับเคลื่อนสูงกว่ารถยนต์ของเรางั้นหรอ??

         แล้วคนโบราณใช้อะไรเป็นแรงขับและแรงขับนั้นต้องมากกว่าเครื่องยนต์ขนาดปกติที่เราใช้หลายเท่านัก   เพราะว่าต้องเข็นขึ้นไปวางบนที่สูงถึง  146  เมตร   ตามความสูงของปิรามิดแห่งกีซา!   นี่ยังไม่รวม  Puma  Punku   วิหารโบราณของชาวอินคาปัจจุบันเป็นประเทศโบลิเวีย   สร้างบนยอดเขาสูงถึง  13,000  ฟุต   เฉลี่ยหินน้ำหนักมากกว่า  200  ตัน   บางก้อนหนักถึง  450  ตัน   แม้แต่รถสิบล้อพ่วงยังต้องอาย!!   รถเข็นแบบไหนถึงทำได้ถ้าผมมีไว้ใช้ซักคันคงน่าจะสบายเวลาเข็นปุ๋ยสองกระสอบไปใส่ในสวน   หนักกระสอบล่ะ  50  กิโลกรัมเอง !!  


       ลืมบอกไปเรื่องหนึ่งคนอียิปต์ไม่รู้จักล้อเลื่อนครับ !!  ฉะนั้นไม่มีทางรู้จักรถเข็นได้หรอก

ซ้ายภาพบนดาวอังคาร  ขวาภาพสฟิงบนโลก

         นอกจากนั้นก็ยังมีข้อสัญนิฐานที่อธิบายด้วยวิทยาศาสตร์   ฟิสิกส์   ผมว่าศาสตร์ไหนๆ ก็อธิบายไม่ได้ทั้งแหละ !!   อย่าง   คนโบราณเขามีอะไรที่เราไม่รู้เยอะ   ผมก็ไม่รู้เหมือนกันจะใช้ศาสตร์ไหนอธิบายดี   หรือต้องการจะบอกว่าเขาไปขอให้พวกยักษ์ช่วยงั้นหรอ ?   อีกเหตุผลหนึ่งที่ฟังยังขึ้น   ไม่มีอะไรมากหรอกแค่คนโบราณเขาตัวใหญ่กว่าเราเท่านั้นเอง   ก็คงจะแข็งแรงมากขนหินหนัก  2.8  ตันระยะทาง  5.3  กิโลเมตรได้ในเวลาไม่ถึงชั่วโมง   ขนาดรถยนต์ของเรายังสู้ไม่ได้เลยต่อให้ใช้หลายคนก็เถอะ

         ลองไปดูข้อสัญนิฐานของแนวคิด   พระเจ้าจากอวกาศ   กันมั้งอย่างที่บอกไปแล้วว่ามีวิทยาศาสตร์มารองรับเสมอ
         เขาสัณนิฐานกันว่า   ผู้อยู่เบื้องหลังสร้างปิรามิดคือมนุษย์ต่างดาวที่คนโบราณเรียกว่าพระเจ้า  
         ลองเอาวิทยาศาสตร์ไปอธิบาย   เทคโนโลยีที่สามารถตัดหินก้อนใหญ่ๆ ได้วันล่ะ  315  ก้อนแต่ล่ะก้อนหนักถึง  2.8  ตัน   ขนหินในระยะทาง  5.3  กิโลเมตรในเวลาไม่ถึง  5  นาที   เพราะว่าจะต้องเรียงหินทุกๆ  5  นาที   ถ้าช้าไปกว่านี้เวลาในการสร้างจะต้องยืดออกไปอีก   มันเป็นเทคโนโลยีที่ยุคปัจจุบันยังต้องอาย !   

         การตัดหินต้องใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ถึงตัดได้เร็ว   ตรง   และแม่นยำมาก   เพราะแสงเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอและยังมีความเร็วสูงที่สุด   ส่วนการขนย้ายน่าจะใช้เทคโนโลยีต้านแรงโน้มถ่วง   เพราะสิ่งที่ทำให้วัตถุมีน้ำหนักคือแรงโน้มถ่วง   ถ้าแรงโน้มถ่วงน้อยลงวัตถุจะเบาขึ้น   แล้วใครมันมีเทคโนโลยีแบบนี้ได้ล่ะ!!

         ถ้ามันเป็นอย่างนี้จริงมันจะสามารถอธิบายการสร้างปิรามิดได้ทุกอย่างทั้งปิรามิดที่สร้างบนยอดเขาสูงกลางป่าที่หินหนักเป็นร้อยตันได้   การตัดหินที่เรียบบางก้อนสามารถบาดจนเป็นแผลได้   การขนหินเป็นตันๆ ระยะทางเป็นกิโลๆ ได้ในเวลาอันน้อยนิด   แต่เสียอย่างเดียวปัจจุบันเทคโนโลยีเกี่ยวกับแสงยังไม่เป็นที่รู้จักในคนหมู่มาก   เทคโนโลยีต้านแรงโน้มถ่วงก็ยังเป็นแค่ข่าวลือที่ลือออกมาตามสถานที่ทดลองลับๆ ในประเทศมหาอำนาจ

         เมื่อเทคโนโลยีเหล่านั้นกลายเป็นที่แพร่หลาย   ความลับในการสร้างปิรามิดรวมถึงโบราณสถานหลายๆ แห่งก็อาจจะถูกเปิดเผยออกมาก็ได้




ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น